Author: admin

หลักการเขียนบทความให้น่าอ่านไม่น่าเบื่อ

การเขียนบทความมีอยู่ด้วยกันหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับว่าต้องการให้บทความนั้นๆ ออกมาลักษณะใด แต่ปัญหาหนึ่งของการเขียนบทความไม่ว่าจะรูปแบบไหนก็คือเมื่อเขียนไปได้สักพักกลับรู้สึกว่าคนอ่านคงจะน่าเบื่อกับรูปแบบที่เขียนอย่างแน่นอน จึงเกิดเป็นคำถามขึ้นมาว่าควรเขียนบทความอย่างไรเพื่อให้โดนใจคนอ่าน ไม่รู้สึกน่าเบื่อจนไม่อยากอ่านไปในที่สุด ซี่งหลักการเขียนบทความให้ไม่น่าเบื่อในการอ่านก็มีดังนี้ หลักการเขียนบทความให้ไม่น่าเบื่อเวลาอ่าน มีการวางโครงเรื่องต่างๆ ให้ชัดเจน – การวางโครงเรื่องของบทความให้ชัดเจนจะทำให้ผู้เขียนรู้ว่าเมื่อถึงย่อหน้าใหม่ต้องเขียนเรื่องอะไร มีการดำเนินเรื่องแบบไม่วกวน ซึ่งการเขียนแบบนี้จะทำให้คนอื่นรู้สึกไหลลื่นไปกับเรื่องราวนั้นๆ อ่านแล้วเพลินจนจบและไม่รู้สึกน่าเบื่อเลยแม้แต่น้อย ไม่ควรใช้ภาษาเป็นทางการมากเกินไป – อันนี้สำหรับบทความไม่เน้นเรื่องวิชาการควรมีภาษาแบบเป็นทางการไม่ต้องมากนักเพราะการมีภาษาเหล่านั้นจะทำให้ผู้อ่านเข้าใจยาก อ่านยาก จนกลายเป็นความน่าเบื่อแล้วไม่อยากอ่านบทความดังกล่าวไปในที่สุด การมีศัพท์วิชาการควรมีให้เหมาะสม หรือ มีเฉพาะบทความวิชาการเป็นทางการจะดีกว่าการนำมาใส่ในบทความทั่วไป อย่าเลือกใช้คำซ้ำบ่อยครั้ง – การมีคำซ้ำบ่อยจะทำให้ประโยคการอ่านของผู้อ่านไม่ไหลลื่น เมื่ออ่านไม่ไหลลื่นแล้วก็ทำให้รู้สึกเบื่อจนไม่อยากอ่านไปโดยปริยาย แม้จะเป็นคำเดียวกันแต่ควรเลือกใช้คำที่ความหมายใกล้เคียงเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้คำซ้ำคำนั้นเดิมๆ ให้มากที่สุดคนอ่านจะได้ไม่รู้สึกเบื่อ ไม่รู้จักการเว้นวรรคช่องไฟ หรือ ย่อหน้าให้ถูกต้อง – บางทีเวลาคนอ่านเห็นบทความยาวติดๆ กันเป็นพรืดก็ไม่มีใครอยากอ่านตั้งแต่เริ่มต้นแล้ว จึงต้องมีการย่อหน้า หรือ การวรรคช่องไฟให้สวยงามน่าอ่าน พื้นฐานของการเขียนบทความคือ 3 ย่อหน้า แต่ก็มีการปรับเปลี่ยนได้แบบเหมาะสมไม่จำเป็นต้องยึดหลักการนี้ทั้งหมดแต่ก็ควรเว้นระยะให้เหมาะสม ส่วนช่องไฟก็ควรเว้นเมื่อมีการจบประโยคเสมอ มีการยกตัวอย่าง หรือ ใส่มุกตลกลงไปบ้าง – การเขียนบทความให้สนุกน่าอ่านไม่น่าเบื่อควรมีการยกตัวอย่างสถานการณ์เพื่อให้เห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น หรือ มีการหยอดมุกตลกเข้าไปกรณีไม่ใช่บทความเป็นทางการเพื่อให้การอ่านดูสนุกสนาน ไม่น่าเบื่อจนเกินไป หลักการต่างๆ เหล่านี้จะช่วยให้บทความน่าอ่านมากขึ้นกว่าเดิม คนอ่านเองก็ไม่รู้สึกเบื่อส่งผลให้การเขียนบทความประสบความสำเร็จได้ไม่ยากและยังทำให้คนอ่านเองชื่นชอบอีกต่างหาก

Comments: Comments are Closed

การเขียนบทความมีประโยชน์ต่อการทำเว็บไซต์อย่างไร

ทุกวันนี้เรื่องของบทความกลายเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลมากบนโลกอินเตอร์เน็ต คือแม้ว่าหนังสือจะเริ่มกลายเป็นสิ่งถูกมองข้ามแต่ตัวหนังสือยังคงเป็นสิ่งที่คนต้องใช้อ่านกันเหมือนเดิม มันแค่เปลี่ยนจากหน้ากระดาษขึ้นมาบนเว็บไซต์เท่านั้นเอง ทำให้การเขียนบทความจำเป็นและมีประโยชน์ต่อทุกเว็บไซต์อย่างมาก ไม่ใช่แค่เรื่องของการเปลี่ยนรูปแบบหรือย้ายแหล่งการเขียนการอ่านเท่านั้นแต่มันยังมีประโยชน์ต่อการทำเว็บไซต์อีกมากมาย รับรองว่านี่สิ่งจำเป็นที่ทุกเว็บไซต์ต้องมีส่วนจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับลักษณะเว็บไซต์ ประโยชน์ของการเขียนบทความต่อการทำเว็บไซต์ ช่วยให้มีคนเข้ามายังเว็บไซต์มากขึ้น – การเขียนบทความดีๆ มีสาระไว้ในเว็บไซต์ของตนเองยิ่งช่วยให้เกิดการเข้าชมเว็บไซต์เพื่ออ่านบทความนั้นเพิ่มมากขึ้น ซึ่งประโยชน์เรื่องแรกก็คือเว็บไซต์เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้นจากการเข้ามาอ่านของคนจำนวนมาก เมื่อเว็บไซต์เป็นที่รู้จักก็ทำให้เกิดผลบวกตามมามากมาย กระตุ้นยอดขายได้อย่างยอดเยี่ยม – สำหรับเว็บไซต์ขายสินค้า บริการต่างๆ การมีบทความชั้นดีบนเว็บไซต์นอกจากการเข้าถึงของผู้คนมากขึ้นแล้วยังช่วยกระตุ้นยอกขายได้จากความน่าเชื่อถือซึ่งส่วนหนึ่งก็มาจากบทความเหล่านี้นั่นเอง หลายคนรู้สึกว่าการที่เว็บไซต์มีบทความดีแสดงว่าสินค้าหรือบริการต้องดีตามนั่นเอง ช่วยให้การทำ SEO ง่ายขึ้น เสียค่าใช้จ่ายน้อยลง – การมีบทความตามหลัก SEO ของเว็บไซต์จะช่วยให้การทำ SEO เป็นเรื่องง่ายมากขึ้น เว็บมีโอกาสติดอันดับของ Search Engine ดังอย่าง Google เมื่อติดอันดับง่ายนั่นหมายความว่าผู้คนค้นหาเจอเว็บเราได้ง่ายขึ้น ไม่จำเป็นต้องเสียเงินค่าโฆษณาซึ่งเป็นผลดีอีกทอดเหมือนกับยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว แบบไม่ต้องคิดมากเลย สร้างคุณค่าให้กับเว็บมากขึ้น – การมีบทความคุณภาพดีอยู่ในเว็บเยอะช่วยให้คนอ่านรู้สึกได้ถึงคุณค่าอันชัดเจนของเว็บ ส่งผลโดยตรงให้เว็บเองกลายเป็นเว็บคุณภาพ มีคุณค่าในตัวเองจากความรู้สึกของผู้อ่าน จนเกิดการสนใจ ติดตาม ชื่นชอบเว็บนั้นๆ ไปโดยปริยายแบบไม่ต้องคิดมากเลยทีเดียว เว็บมีการอัพเดทข้อมูลอยู่เสมอ – การเขียนบทความลงเว็บประจำจะช่วยให้คนอ่านรู้สึกว่าเว็บมีความทันสมัย อัพเดทข้อมูลใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา แถมใช้เวลาในการทำรวดเร็วไม่เหมือนกับการทำคลิป วาดรูป หรือตัดต่อที่ต้องใช้เวลาในการทำแต่ละครั้งนาน การอัพเดทก็จะไม่บ่อยเท่าการเขียนบทความ […]

Comments: Comments are Closed